การวิเคราะห์อาการเสียของอุปกรณ์ประมวลผล RAm,CPU,Mainboard
RAM
-มีเสียงร้องหลังจากเปิดเครื่องและไม่มีภาพ
มีสาเหตุดังนี้
1. เสียบ RAM ไม่แน่น
วิธีแก้ไข : ให้ลองเปิดฝาเครื่องแล้วขยับ RAM ให้แน่น
2. เกิดจากหน้าสัมผัสของ RAM ไม่สะอาด
วิธีแก้ไข : เปิดฝาเครื่องออกมาแล้วให้ลองขยับ RAM ให้แน่น ถ้ายังไม่หายให้ลองถอด RAM ออกมาทำความสะอาดหน้าสัมผัส โดยใช้ยางลบดินสอหรือน้ำยา
3. เกิดจากการเสียบ RAM ผิดแถว
วิธีแก้ไข : เมนบอร์ดบางรุ่นต้องเสียบ RAM ไล่จากแถวที่ 1 ขึ้นไป ให้ลองนำ RAM มาเสียบที่ Slot ที่ 1 และไล่ลงไปในกรณีที่มี RAM หลายแถว
4. RAM ที่ใส่ไปไม่ตรงกับชนิดที่เมนบอร์ดรับได้
วิธีแก้ไข : ตรวจสอบกับคู่มือเมนบอร์ดว่าเป็นชนิดที่ถูกต้องและขนาดที่ไม่เกินที่เมนบอร์ดกำหนดในแต่ละแถว ถ้าไม่ถูกให้นำ RAM ชนิดที่ถูกต้องมาใส่
5. เกิดจากความผิดผลาดของกระบวนการเช็คตอนเปิดเครื่อง ( POST) ของไบออส
วิธีแก้ไข:ในบางครั้งจะจดจำการติดตั้งฮาร์ดแวร์ในตำแหน่งต่างไว้และทำการตรวจเช็คทุกครั้งที่เปิดเครื่องดังนั้นเมื่อมีการเปลี่ยนแปลง หรือสลับตำแหน่งของสล็อตที่เสียบอุปกรณ์ต่างๆ เครื่องอาจจะเช็คว่าเกิดความผิดผลาดได้ โดยที่จริง ๆ แล้วไม่ได้มีอุปกรณ์ใด ๆเสียเลยแต่เพราะเครื่องได้จดจำข้อมูลตำแหน่งของสล็อต ที่เสียบ ฮาร์ดแวร์ต่าง ๆ ไว้ แต่ยังไม่ได้ทำการอัพเดทหรือ รีเฟรช (Refresh ) ทำให้เมื่อเปิดเครื่องแล้วถึงขั้นตอนการตรวจสอบ เครื่องจะฟ้องว่าฮาร์ดแวร์ผิดผลาด วิธีแก้คือ ให้ลองสบับแถวของ RAM แล้วลองเปิดเครื่องใหม่ เพื่อให้เครื่องจดจำตำแหน่ง หรือ Reset ไบออส โดยการถอด ถ่านของไบออสบนเมนบอร์ดออกสักครู่หนึง แล้วกลับเข้าไปใหม่ จากนั้นลองเปิดเครื่องใหม่อีกครั้ง
6. RAM เสีย
วิธีแก้ไข : ให้ลองนำ RAM ตัวอื่นที่ใช้ได้มาเสียบแทนในช่องเดียวกัน ถ้าหากใช้ได้แสดงว่า RAM เสีย ถ้า RAM เสียก็ต้องซื้อมา เปลี่ยนสถานเดียว
-เปิดเครื่องแล้ว แต่ Test Memory (RAM) ไม่ผ่านมีสาเหตุดังนี้
1. สล็อตเสียบ RAM เสียหรือเสียมคุณภาพ
วิธีแก้ไข : เป็นไปได้ที่เมื่อใช้ไปแล้ว สล็อตเสียบ RAM เสื่อมคุณภาพ ให้ลองย้าย RAM ไปใส่ในสล็อตอื่นแล้วลองบู๊ตเครื่องใหม่
2. RAM เสียหรือเสียมคุณภาพ
วิธีแก้ไข : ให้ลองนำ RAM ตัวอื่นที่ใช้ได้มาเสียบแทนในช่องเดียวกันถ้าผ่านแสดงว่า RAM เสีย ก็ต้องซื้อมาเปลี่ยนใหม่ใช้แล้ว
-เครื่องแฮงก์ง่ายมีสาเหตุดังนี้
1. อาจเกิดจากการตั้งค่าความถี่ที่ใช้กับ RAM ไม่ถูกต้อง
วิธีแก้ไข : ดูที่สเปค (Spec) ของ RAM สามารถทำงานที่ความถี่เท่าไร และให้ตั้งให้ถูกต้อง โดยเซ็ทที่ BIOS หรือเมนบอร์ด บางรุ่นต้องเซ็ทที่ Jumper บนเมนบอร์ด โดยสามารถดูรายละเอียดจากคู่มือของเมนบอร์ดนั้นๆ ได้
2. อาจเกิดจากการตั้งค่าการหน่วงเวลา (Wait state) ไม่ถูกต้อง
วิธีแก้ไข : กลับไปตั้งค่าให้ถูกต้องเหมือนเดิม หรือตั้งค่าเป็นแบบ by SPD จะสะดวกที่สุด
3. อาจเกิดจากการเลือกคุณสมบัติพิเศษ เช่น Fast page , EDO ไม่ถูกต้อง
วิธีแก้ไข : ควรศกษาคุณสมบัติพิเศษต่าง ๆ ให้เข้าใจอย่างละเอียดก่อนที่จะเลือกใช้คุณสมบัตินั้น ๆ ถ้าไม่แน่ใจให้แก้กลับมาที่ Load Detault Setup หรือ Disable เพราะถ้าเลือกใช้คุณสมบัติพิเศษ โดยที่ RAM ตัวนั้นไม่รองรับ ก็จะทำให้เกิดความผิดพลาดในการทำงานได้
4. อาจเกิดจาก Clip RAM ร้อนเกินไป
วิธีแก้ไข : ในกรณีทีบางครั้ง RAM ทำงานหนักและเกิดอาการร้อนเกินไปจะทำให้เกิดการทำงานผิดพลาดได้ ดังนั้นถ้าต้องการเสถียรภาพ ในการทำงานมากขึ้น เราควรปรับปรุงระบบระบายความร้อนภายในเครื่องคอมพ์ให้ดีขึ้น เช่น เพิ่มพัดลมระบายความร้อนภายในเครื่อง วางคอมพ์ไว้ในที่ที่มี อากาศถ่ายเทได้สะดวกหรือห้องแอร์ก็จะยิ่งดี
5. อาจเกิดจาก RAM เสื่อม
วิธีแก้ไข : RAM บางตัวที่ใช้งานไปนาน ๆ Clip บางตัวบน RAM อาจเสื่อมได้โดยที่เครื่องยังสามารถทำงานได้ตามปกติ แต่เมื่อเครื่อง ได้ใช้งานมาถึงตำแหน่งที่เสื่อมบนแรมตัวนั้น จะทำให้เกิดการทำงานผิดพลาดได้ วิธีแก้คือ ลองถอด RAM ตัวที่คิดว่าเสื่อมออก และนำ RAM ตัวอื่นที่ดีมาใส่แทน และลองใช้งานดู ถ้าทำงานได้ตามปกติแสดงว่า RAM ตัวนั้นเสีย ให้ซื้อตัวใหม่มาเปลี่ยน หรือถ้าอยู่ในระยะประกันให้ลองเปลี่ยนตัวใหม่ แต่อาการแบบนี้ขอบอกว่าพิสูจน์ยากนิดนึง บางครั้งเราต้องรอจังหวะขนาดของ RAM
-เมื่อใช้งานน้อยกว่าขนาดที่แท้จริงมีสาเหตุดังนี้
1. เสียบ RAM ที่มีขนาดเกินกว่าที่ช่องเสียบ RAM นั้นรับได้
วิธีแก้ไข : เมนบอร์ดบางตัวจะกำหนดขนาดของ RAM สูงสุดต่อแถวที่เสียบได้ในแต่ละช่องสล็อต ดังนั้นควรอ่านคู่มือของเมนบอร์ดดูก่อนว่าสล็อตใดเสียบ RAM ที่มีขนาดสูงสุดได้เท่าไร เช่น เมนบอร์ดบางรุ่น ช่องเสียบ RAM แถวที่ 1ใส่ RAM ได้สูงสุดไม่เกินแถวละ128 MB ถ้าเรานำ RAM ขนาด แถวละ 256 MB มาใส่เครื่องจะไม่สามารถรับได้หรือมองเห็นแค่เพียง 128 MB เท่านั้น
2. ขนาดของ RAM รวมทั้งหมดเกินกว่าที่เมนบอร์ดจะรับได้
วิธีแก้ไข : เมนบอร์ดทุกอันจะมีขนาดรวมของ RAM สูงสุดที่เมนบอร์ดรับได้ไม่ใช่ว่าจะสามารถซื้อ RAM มาใส่เท่าไรก็ได้ ควรอ่านคู่มือ ของเมนบอร์ดรุ่นนั้นด้วย
3. RAM บางส่วนถูกนำไปใช้ในด้านอื่น
วิธีแก้ไข : เหตุการณ์นี้จะเกิดขึ้นเมนบอร์ดบางรุ่น ที่มีอุปกรณ์บางประเภท Onboard ซึ่งจะใช้หน่วยความจำร่วมกับ RAM ทำให้เมื่อเปิด ใช้งานเนื้อที่ของ RAM บางส่วนจะถูกจองไว้สำหรับใช้งานของอุปกรณ์ตัวนั้นโดยเฉพาะ จึงทำให้เวลาระบบปฏิบัติการแสดงผลขนาดของ RAM จะเหลือไม่เท่ากับ ขนาดที่แท้จริงของ RAM เช่น เมนบอร์ดบางรุ่นที่มี VGA Card Onboard และแจ้งว่ามี RAM ของ VGA Card ขนาด 16 MB แต่เมื่อใช้งานจะใช้เนื้อที่ของ RAM ที่เสียบลงไปบนเมนบอร์ด ดังนั้น ถ้าเราเสียบ RAM ขนาด 128 MB ลงไปบนเมนาบอร์ดจะเหลือ RAM ที่ใช้งานกับระบบจริงเพียง 128 MB คือ 112 MB
4. อาจเกิดจาก RAM เสื่อม
วิธีแก้ไข : เราสามารถดูตามอาการเสียของแรมที่ได้กล่าวมาข้างต้น
-RAM ที่มีความเร็วสูงแต่ทำงานที่ความเร็วต่ำ
1. เมนบอร์ดไม่สามารถรองรับ RAM ที่มีความเร็วสูงกว่าที่กำหนดได้
วิธีแก้ไข : ไม่สามารถแก้ได้ ถ้าต้องการให้ RAM ทำงานที่ความเร็วสูง ต้องซื้อเมนบอร์ดรุ่นที่รองรับได้ เช่น RAM ที่มีความเร็ว 133 MHz เมื่อนำมา ใส่เมนบอร์ดที่รองรับ RAM ที่มีความเร็วสูงสุดที่ 100 MHz RAM ตัวนั้นจะทำงานได้ที่ความเร็วแค่ 100 MHz
2. ไม่ได้ตั้งค่าที่ BIOS ให้ถูกต้อง
วิธีแก้ไข : ที่ BIOS จะมีเมนูสำหรับตั้งค่าความเร็วของ RAM ที่เราต้องการให้เราไปปรับค่าให้ถูกต้องหรือให้เลือกเป็น Auto
3. ไม่ได้เซ็ทค่าจั๊มเปอร์บนเมนบอร์ด
วิธีแก้ไข : เมนบอร์ดบางรุ่นจะมีการเซ็ทความถี่ของ RAM ที่จั๊มเปอร์บนเมนบอร์ดด้วย ให้ศึกษาด้วย ให้ศึกษาและเซ็ทตามคู่มือเมนบอร์ด
http://www.zabzaa.com/tips/showtips.asp?GID=86
CPU
Intel ตามที่ทราบกันดีอยู่แล้ว แต่ก็สามารถแก้ไขหรือช่วยผ่อนหนักเป็นเบาได้โดยการเลือกใช้ฮีตซิงค์และพัดลมระบายอากาศซีพียูที่มีประสิทธิภาพดีแต่ในปัจจุบันก็ได้มีการพัฒนาซีพียูรุ่นใหม่ๆที่ออกมามีความร้อนที่เกิดขึ้นลดน้อยลงแต่ยังคงไว้ซึ่งความเร็วที่สูงขึ้นด้วย
การแก้ปัญหาอันเนื่องมาจากความร้อนของซีพียู
ข้อแนะนำ ดังนี้
1.ไม่ควรเพิ่มความเร็วสัญญาณนาฬิกาหรือ Overlock โดยไม่จำเป็น
2.เลือกใช้ฮีตซิงค์และพัดลมระบายอากาศซีพียูที่มีประสิทธิภาพ
3.เลือกเคสที่โปร่งและสามารถติดตั้งพัดลมระบายอากาศภายในเคสเพิ่มเติมได้
4.ไม่ควรเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานในห้องที่ร้อน อบอ้าว เป็นเวลานานๆถ้าจะทำงานเป็นเวลานานๆควรเปิดเครื่องปรับอากาศด้วย
5.สังเกตว่าอย่าให้มีอะไรมาบังช่องทางของพัดลมระบายอากาศด้านหลังเครื่อง
ปัญหานี้สามารถพบเห็นได้บ่อยๆ ในปัจจุบัน ที่ความเร็วในการทำงานของซีพียูนั้นสูงขึ้นมาก แต่ก็สามารถแก้ไขหรือช่วยผ่อนหนักเป็นเบาได้
-สาเหตุที่มักทำให้ซีพียูมีความร้อนสูงขึ้นจนทำให้เครื่องเกิดอาการแฮงค์
มีดังนี้.
• การเพิ่มความเร็วสัญญาณนาฬิกาหรือการ Overclock : เป็นที่นิยมอย่างมากในหมู่ของผู้ใช้ที่ค่อนข้างเชี่ยวชาญในการใช้งานคอมพิวเตอร์ เป็นเพราะว่าผู้ใช้เหล่านั้นจะทราบดีว่าความเร็วของซีพียูที่ระบุหรือกำกับมากับตัวซีพียูแต่ละตัวนั้น ไม่ใช่ค่าความเร็วสูงสุดที่แท้จริง แต่เป็นเพียงค่าความเร็วที่เหมาะสมสำหรับทำให้การทำงานของซีพียูนั้นเกิดความเสถียรมากที่สุด ซึ่งผู้ใช้เหล่านี้ก็มักจะมีการดัดแปลงให้ซีพียูเหล่านี้มีความเร็วในการทำงานสูงขึ้นกว่าที่กำกับไว้ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ แต่ผลเสียที่ตามมาก็คืออายุการใช้งานของซีพียูที่สั้นลงและความร้อนที่เกิดขึ้นนั้นจะสูงขึ้นมากกว่าปกติจนเป็นสาเหตุที่ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์นั้นแฮงค์บ่อยๆ
• การเลือกใช้ฮีตซิงค์และพัดลมระบายอากาศซีพียูที่ไม่มีประสิทธิภาพ : นอกจากสาเหตุอันเนื่องมาจาก การ Overclock แล้วนั้น ในการเลือกใช้ฮีตซิงค์และพัดลมระบายอากาศซีพียูที่ไม่มีประสิทธิภาพก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เครื่องเกิดอาการแฮงค์ขึ้นได้ เพราะหน้าที่ของฮีตซิงค์และพัดลมระบายอากาศซีพียูก็คือ นำพาความร้อนจากซีพียูมาเก็บไว้ที่ตัวแล้วใช้พัดลมเป่าเพื่อระบายอากาศ เพราะฉะนั้นถ้าวัสดุที่นำมาใช้ทำฮีตซิงค์ไม่มีคุณสมบัติของการนำพาความร้อนที่ดีพอ และพัดลมระบายอากาศเป่าระบายความร้อนออกไปได้ไม่ทัน รวมทั้งใช้สารเชื่อมความร้อน หรือซิลิโคนที่ไม่มีคุณภาพ ผลที่ตามมาก็คือเครื่องแฮงค์ ในปัจจุบันจะมีฮิตซิงค์และพัดลมระบายอากาศซีพียูให้เลือกซื้ออยู่อย่างมากมาย หลายรุ่น หลายยี่ห้อ ดังนั้นจึงต้องเลือกฮีตซิงค์และพัดลมระบายอากาศซีพียูให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพเพียงพอต่อการใช้งานด้วย
-การแก้ปัญหาอันเนื่องมาจากความร้อนของซีพียู มีดังนี้.
• ไม่ควรเพิ่มความเร็วสัญญาณนาฬิกาหรือ Overclock โดยที่เราไม่จำเป็น
• เลือกใช้ฮีตซิงค์และพัดลมระบายอากาศซีพียูที่มีประสิทธิภาพ
• เลือกเคสที่โปร่งและสามารถติดตั้งพัดลมระบายอากาศภายในเคสเพิ่มเติมได้
• ไม่ควรเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานในห้องที่ร้อน อบอ้าว เป็นเวลานานๆ
• สังเกตว่าอย่าให้มีอะไรมาบังช่องทางของพัดลมระบายอากาศด้านหลังเครื่อง
http://www.csc.kmitl.ac.th/faq/31-general/198-2553-08-04-03.html
Mainboard
อาการเสียของ Mainboard และการ ตรวจสอบเบื้องต้นเมนบอร์ด (Mainboard)
เป็นแผงวงจรหลักในคอมพิวเตอร์มีลักษณะเป็นแผ่นเซอร์กิตPCB(PrintCircuitBoard)ใช้สำหรับติดตั้งอุปกรณ์อิเล็กโทรนิคต่างๆรวมทั้งซีพียู,หน่วยความจำหรือRAMและแคช(Cache)ซึ่งหน่วยความจำความเร็วสูงสำหรับพักข้อมูลระหว่างซีพียูและแรมอุปกรณ์ที่สำคัญอีกชนิดหนึ่งซึ่งอยู่บนเมนบอร์ดได้แก่ชิปเซ็ต (Chipset) ภายในประกอบด้วยทรานซิสเตอร์ขนาดเล็กจำนวนหลายล้านตัวผลิตด้วยเทคโนโลยีการทำงานระหว่างอุปกรณ์ชนิดต่าง ๆ เป็นส่วนสำคัญที่ทำให ้เมนบอร์ดแต่ละยีห้อและแต่ละรุ่นมีคุณสมบัติต่างกันนอกจากนี้บนเมนบอร์ดยังมีช่องสำหรับเสียบการ์ดเพิ่มเติมที่เรียกว่า สล็อต(Slot)ซึ่งการ์ดจอ, การ์ดเสียง ฯลฯ ต่างก็เสียบอยู่บนสล็อต นอกจากนี้เมนบอร์ดในปัจจุบันยังได้รวมเอาส่วนควบคุมการ ทำงานต่าง ๆ ไว้บนตัวเมนบอร์ดอีกด้วย ได้แก่ ส่วนควบคุมฮาร์ดดิสก์ (Harddisk Controller),พอร์ตอนุกรม (Serial Port)พอร์ต ขนานหรือพอร์ตเครื่องพิมพ์ (Printer Port), พอร์ต PS/2,USB(Universal Serial Bus) รวมทั้ง Keyboard Controllerสำหรับอุปกรณ์ อื่นที่มีมาตั้งแต่เริ่มกำเนิดเมนบอร์ดได้แก่ ROM BIOS และ Real-Time Clock เป็นต้น ส่วนอาการเสียที่มักจะเกิดบ่อยที่ผู้ใช้ควรรับรู้และสามารถแก้ไขได้ตัวอย่างเช่น
1.รู้ได้อย่างไรว่าเมนบอร์ดที่ใช้อยู่ รองรับอุปกรณ์ Onboard อะไรบ้าง หากอยากรู้ว่าคอมพิวเตอร์หรือเมนบอร์ดที่ใช้อยู่มีอุปกรณ์ Onboard อะไรแถมมาด้วยก็ไม่ยาก โดยให้ดูที่ด้านท้ายเคสซึ่งจะมีพอร์ตสำหรับต่อเมาส์ และคีย์บอร์ด ถ้าหากเมนบอร์ดมีอุปกรณ ์ Onboard อื่นให้มาด้วยก็จะมีพอร์ตสำหรับอุปกรณ์นั้นเช่น พอร์ต Modem, Lan, VGA, Sound คือถ้าพบมีพอร์ตดังกล่าวอยู่ท้ายเคสก็ให้เสียบใช้งานได้ทันที
2. การ์ดจอ Onboard เสียจะทำอย่างไร ปัญหานี้จะแสดงอาการออกมาในลักษณะเปิดเครื่องได้เห็นไฟเข้าเครื่องทำงานปรกติต่หน้าจอจะไม่มีภาพอะไรเลยผู้ใช้หลายคนนึกว่าเมนบอร์ดเสียจึงไปหาซื้อเมนบอร์ดมาเปลี่ยนใหม่ทำให้สูญเสียเงินไปโดยใช่เหตุสาเหตุ เป็นเพราะระบบแสดงผลของชิปเซ็ตบนเมนบอร์ดเสีย ทำให้ไม่มีภาพปรากฏบนหน้าจอวิธีแก้ ให้ทำการจัมเปอร์บนเมนบอร์ดเป็น Disable หรือกำหนดค่าในไบออสให้เป็น Disable ขึ้นอยู่กับรุ่นของเมนบอร์ด แล้วนำการ์ดจอมาติดตั้งลงในสล็อต AGP แทน หากเป็นรุ่นที่ไม่มีสล็อต AGP ก็คงต้องหาซื้อการ์ด PCI มาติดตั้งแทน หรือส่งซ่อมที่ร้าน p.c.point ได้
3. เมนบอร์ดมีการ์ดเสียง Onboard ไม่ทำงาน
ปัญหานี้มีลักษณะคล้ายกับปัญหาการ์ดจอ Onboard แต่ส่วนใหญ่การ์ดเสียง Onboardที่มีปัญหาใช้งานไม่ได้
สาเหตุ
1. ยังไม่ได้กำหนดให้ใช้งานวงจรเสียงได้จากไบออส
2. ยังไม่ติดตั้งไดรเวอร์สำหรับวงจรเสียงดังกล่าว
3. อาจเป็นส่วนของวงจรเสียงในชิปเซ็ตเสีย
วิธีแก้
1. กำหนดค่าในไบออสโดยเลือกหัวข้อ Integrated Peripherals
2. เลือกหัวข้อ Onboard Hardware Audio และกำหนดค่าเป็น Enabled
3. Save ค่าไว้และออกจากไบออสบู๊ตเครื่องใหม่
4. ใช้แผ่นไดรเวอร์เมนบอร์ดติดตั้งไดรเวอร์เสียงลงใน Windows. หากติดตั้งแล้วใช้การไม่ได้แสดงว่าส่วนวงจรเสียงเสีย ให้ Disabled ยกเลิกการใช้งานในไบออส แล้วหาซื้อการ์ดเสียงมาติดตั้งใหม่
4. จะติดตั้งพอร์ต USB ของตัวเครื่องเข้ากับเมนบอร์ดได้อย่างไร ุ เมนบอร์ดทั้วไปมักจะมีพอร์ต USB ติดตั้งมาให้จำนวน 2 พอร์ต โดยจะมีขั้วพอร์ต USB ให้อีก 1 ช่องสำหรับต่อพอร์ต USB ได้อีก 2 พอร์ตซึ่งพอร์ตต่อเพิ่มพอร์ต USB มักเป็น Options เสริมที่ต้องซื้อเพิ่มเอาเองแต่ในตัวเคสรุ่นใหม่ที่ด้านหน้าหรือด้านข้างมักจะมีพอร์ตเสริม USB มาให้อีก 2 พอร์ตวิธีแก้ การติดตั้งพอร์ตเสริม USB ของตัวเคสจำนวน 2 พอร์ต เพื่อให้ใช้งานได้จะต้องนำสาย สัญญาณและสายจ่ายไฟจำนวน 8 เส้นมาเสียบต่อเข้ากับช่องต่อพอร์ตUSB บนเมนบอร์ด โดยจะต้องดูคู่มือเมนบอร์ดประกอบด้ยอย่าเสียบผิดสายเพระสาย USB จะมีไฟเลี้ยงอยู่ด้วย จะทำให้อุปกรณ์ต่อพ่วงเสียหายได้ สำหรับขั้นตอนการติดตั้งพอร์ต USB ตัวเครื่องเข้ากับเมนบอร์ดดังนี้
1. เปิดฝาเครื่องออกมาและหาตำแหน่งขั้วต่อพอร์ต USB บนเมนบอร์ด โดยที่ขา 1 จะมีเส้นทึบ สีขาวขีดคร่อมอยู่
2.นำสายสัญญาณและสายจ่ายไฟพอร์ต USB จากเมนบอร์ดมาเรียงไว้ โดยสายจะมี 2 ชุด ๆ ละ 4 เส้น
3. นำสายทั้ง 2 ชุดเสียบเข้ากับขั้วต่อพอร์ต USB บนเมนบอร์ดโดยดูจากคู่มือเมนบอร์ดประกอบ กันด้วยอย่าสลับสายกันเป็นอันขาด
5. ใช้งานพอร์ต USB 2.0 ผ่านเครื่องพิมพ์ ไม่เห็นความเร็วเพิ่มขึ้น
สาเหตุ พอร์ต USB 2.0 เป็นพอร์ตมาตรฐานเพิ่งออกมาใหม่ รองรับความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลได้สูงถึง 480 Mbps หรือเร็วกว่าพอร์ต USB 1.1 ถึง 40 เท่าแต่ใช่ว่าเมื่อเมนบอร์ดรองรับพอร์ต USB 2.0 แล้วจะสามารถ ใช้งานได้เลย ต้องทำการติดตั้งไดรเวอร์ของ USB 2.0 ให้ถูกต้องเสียก่อน วิธีแก้ สำหรับวิธีการตรวจดูว่าคอมพิวเตอร์ของเรา ได้ติดตั้งและใช้ความสามารถของพอร์ต USB 2.0 แล้วหรือยังมีดังนี้
1. ใน Windows XP ให้คลิกปุ่ม Start>Control Panel>Switch to classic view
2. ดับเบิ้ลคลิกที่ไอคอน system
3. คลิกแท็ป Hardware
4. คลิกปุ่ม Device Manager
5. คลิกเครื่องหมาย + หน้า Universal Serial Bus controllers จะพบว่ามีแต่ไดรเวอร์ของ USB 1.1 ติดตั้งไว้เท่านั้น สำหรับ USB 2.0 ยังไม่ได้ติดตั้ง (มีเครื่องหมายตกใจสีเหลืองหน้าตัว Universal Serial Bus (USB) Controller
6. ให้ติดตั้งไดรเวอร์ USB 2.0 โดยการคลิกเมาส์ขวาที่ตัว Universal Serial Bus (USB) Controller และเลือกUpdate Driver…
7. เมื่อปรากฏหน้าจอให้ Update Driver ให้ใส่แผ่นซีดีรอมไดรเวอร์ของเมนบอร์ดเข้าเครื่องและคลิกเลือกหัวข้อ Install the software automatically และดำเนินการตามขั้นตอนที่ปรากฏหน้าจอต่อไป
8. ในขั้นตอนที่ 6 หากต้องการติดตั้งไดรเวอร์ USB จากแผ่นไดรเวอร์เมนบอร์ดโดยตรงก็สามารถทำได้โดยใส่แผ่นไดรเวอร์เข้าไปในเครื่องเพื่อให้รันโดยอัตโนมัติ ซึ่งจะปรากฏหน้าจอให้เลือกข้อ VIA USB 2.0 Driverและดำเนินการไปตามข้นตอนที่ปรากฏบนหน้าจอไปจนเสร็จสิ้น หลังจากนั้นจะบู๊ตเครื่องขึ้นมาใหม่
9. ให้เข้าไปตรวจสอบสถานะของไดรเวอร์ USB 2.0 ว่าได้รับการติดตั้งแล้วหรือไม่โดยเข้าไปที่ Control Panel ซึ่งจะพบว่ามีไดรเวอร์ของ USB 2.0 ได้รับการติดตั้งแล้วคือ USB 2.0 Root Hub และ VIA USB 2.0 Enchanced Host Controller เพียงเท่านี้เมื่อมีการใช้งานพอร์ต USB 2.0 เช่น สั่งพิมพ์งานเอกสารด้วยเครื่องพิมพ์งานเอกสารด้วยเครื่องพิมพ์ผ่านพอร์ต USB 2.0 งานพิมพ์แทบจะวิ่งออกมาทีเดียว
6. เปิดสวิทซ์แล้วเครื่องไม่ทำงานใด ๆ เลยไฟก็ไม่ติด ไม่มีเสียงร้อง
-สาเหตุที่1ปลั๊กPower Supply หลวม
วิธีแก้ ให้ลองขยับปลั๊ก Power Supply ทั้งทางด้านหลังเครื่องคอมพิวเตอร์และที่เต้าเสียบให้แน่น
- สาเหตุที่ 2 อาจเป็นที่ Power Supply เสีย
วิธีแก้ ให้ลองตรวจเช็คว่ามีไฟฟ้าออกจาก Power Supply ถูกต้องหรือไม่วิธีสังเกต ถ้าเป็นสายไฟสีแดงจะมีค่า +5 Volt ถ้าเป็นสายสีเหลืองจะมีค่า +12 Volt หรืออาจสังเกตง่าย ๆ ขั้นต้นว่าเมื่อเปิดสวิทซ์นั้นพัดลมที่ติดอยู่กับ Power Supply หมุนหรือไม่ และเป็นไปได้ที่บางครั้ง Power Supply อาจจะเสียแต่พัดลมยังหมุนอยู่ เราอาจจะลองนำ Power Supply ตัวอื่นที่ไม่เสียมาลองเปลี่ยนดูก็ได้ ถ้าเสียก็ซื้ออันใหม่มาเปลี่ยน เอาแบบวัตต์สูง ๆ ก็จะดี - สาเหตุที่ 3 เป็นที่เมนบอร์ดเสีย วิธีแก้ ถ้า Power Supply ไม่เสียมีไฟเลี้ยงเข้าเมนบอร์ดตามปกติ ให้ลองเช็คโดยการถอดการ์ดต่าง ๆ และ RAM ออกหมด ถ้าเปิดเครื่องแล้วไม่มีเสียงร้องแสดงว่าเมนบอร์ดหรือ CPU เสีย แต่ถ้ามีเสียงร้องแสดงว่าอุปกรณ์บางตัวที่ถอดออกไปเสีย และถ้าหากเมนบอร์ดเสียให้ส่งที่ร้านซ่อมหรือซื้อเมนบอร์ดใหม่ - สาเหตุที่ 4 CPU หลวม วิธีแก้ ส่วนใหญ่เหตุการณ์นี้มักเกิดขึ้นกับซีพียูประเภทซ็อคเก็ตสล็อตวัน (Slot 1) และซ็อคเก็ตสล็อตทู (Slot 2) เช่น เพนเทียมทู เป็นต้น ให้เราปิดฝาเครื่องและลองขยับซีพียูที่ดูเหมือนแน่นอยู่แล้วให้แน่นขึ้นไปอีก - สาเหตุที่ 5 CPU เสีย วิธีแก้ ลองหา CPU ตัวใหม่มาลองเปลี่ยนแทน ถ้าใช้ได้ละก็แสดงว่าตัวเก่าเสียแน่นอน - สาเหตุที่ 6 เป็นที่อุปกรณ์บางตัวเสียทำให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจร วิธีแก้ ให้ลองใส่ตรวจเช็คทีละตัว
7. เปิดเครื่องแล้วมีเสียงร้องแต่ไม่ยอมทำงานใด
- สาเหตุที่ 1 อุปกรณ์บางตัวที่ต่อกับเมนบอร์ดหลวมวิธีแก้ ถ้าอุปกรณ์บางตัวที่ต่อกับเมนบอร์ดหลวม จะทำให้กระบวนการเช็คค่าเริ่มต้น (POST) ของ BIOS ฟ้องค่าผิดพลาด ให้เราเปรียบเทียบค่าสัญญาณ Beep Code จากคู่มือเมนบอร์ด
- สาเหตุที่ 2 อุปกรณ์บางตัวที่อยู่บนเมนบอร์ดต่อไม่ถูกต้องวิธีแก้ ส่วนใหญ่มักเกิดกับ RAM ปกติเมื่อเราเปิดเครื่องแล้วมีปัญหาไม่สามารถแสดงภาพออกทาง หน้าจอในตอนเริ่มต้นได้ Bios จะพยายามแจ้งอาการเสียผ่านทางเสียงร้องออกทางลำโพงที่อยูภาย ในเครื่องคอมพ์ ให้เราเปรียบเทียบค่าสัญญาณ Beep Code จากคู่มือเมนบอร์ด
- สาเหตุที่ 3 อุปกรณ์บางตัวที่ต่อกับเมนบอร์ดเสียวิธีแก้ ให้เราลองเปรียบเทียบค่าสัญญาณ Beep Code จากคู่มือเมนบอร์ดดู
- สาเหตุที่ 4 Chip บนเมนบอร์ดบางตัวเสียวิธีแก้ ให้ลองไปดูเครื่อง Beep Code และถ้าสาเหตุมาจาก Chip บนเมนบอร์ดให้ไปส่งร้านซ่อมเพื่อเปลี่ยน Chip
8. เครื่องทำงานพื้นฐานตามปกติได้แต่ไม่สามารถใช้อุปกรณ์บางตัวได้ โดยที่อุปกรณ์ตัวนั้นไม่ได้เสี
-สาเหตุที่ 1 Chip บางตัวบนเมนบอร์ดเสีย
วิธีแก้ ให้ลองไปดูเรื่อง Beep code และถ้าสาเหตุมาจาก Chip บนเมนบอร์ดให้ไปส่งร้านซ่อมเพื่อเปลี่ยน Chip
- สาเหตุที่ 2 สล็อตหรือพอร์ตบางพอร์ตบนเมนบอร์ดเสีย
วิธีแก้ ลองเปลี่ยนการ์ดตัวนั้นไปเสียบสล็อตอื่นที่เหลือแทน แล้วลองทดสอบตามปกติ ถ้าเหมือนเดิมส่งร้านซ่อมหรือซื้อเมนบอร์ดใหม่
- สาเหตุที่ 3 เกิดการ Conflict กับอุปกรณ์ตัวอื่น
วิธีแก้ เข้าไปที่ Device Manager ให้สังเกตว่ามีเครื่องหมายอัศเจรีย์ (!) แสดงว่าที่อุปกรณ์ตัวนั้นมีปัญหา ได้ดับเบิ้ลคลิกที่อุปกรณ์ตัวนั้น เพื่อเข้าสู่ Properties จากนั้นลองแก้ไขค่า Resources ต่าง ๆ เพื่อไม่ให้ซ้ำกับอุปกรณ์ตัวอื่น
- สาเหตุที่ 4 ไม่ได้ลงไดรเวอร์
วิธีแก้ ให้ทำการติดตั้งไดรเวอร์ลงไป โดยไดรเวอร์มักจะแถมมากับอุปกรณ์ตัวนั้น ๆ หรือถ้าหาไม่ได้ให้ลองดาวน์โหลดไดรเวอร ์จากเว็บไซต์ผู้ผลิตดู
- สาเหตุที่ 5 ลงไดรเวอร์ผิดรุ่นวิธีแก้ ในบางครั้งที่ระบบปฏิบัติการจะตรวจสอบชนิดและรุ่นของอุปกรณ์ตัวนั้น ๆ โดยอัตโนมัติ ซึ่งมีความเป็นไปได ้ที่ผลของการตรวจสอบจะคลาดเคลื่อน ทางที่ดีควรตรวจเช็คให้แน่ว่ารุ่นของอุปกรณ์ตรงกับไดรเวอร์ที่ลงหรือไม่ ถ้าไม่แน่ใจให้ลงไดรเวอร ์จากแผ่นโปรแกรมที่มาพร้อมกับเครื่อง
9. คอมพิวเตอร์แฮงก์บ่อย ๆ โดยหาสาเหตุไม่ได้
- สาเหตุที่ 1 อาจเกิดจากไวรัสคอมพิวเตอร์
วิธีแก้ ลองใช้โปรแกรม Antivirus เวอร์ชั่นอัพเดทตรวจสอบฮาร์ดดิสก์ทั้งหมด
- สาเหตุที่ 2 คุณภาพเมนบอร์ดไม่ถึงมาตรฐาน
วิธีแก้ อาจเป็นเพราะคุณภาพของเมนบอร์ดไม่ถึงมาตรฐานของโรงงาน ซึ่งโดยมากมักเกิดกับเมนบอร์ดที่เพิ่งซื้อมาใหม่ ให้เอาไปเปลี่ยน
- สาเหตุที่ 3 ไฟล์ระบบปฏิบัติการชำรุด
วิธีแก้ ถ้ามั่นใจแล้วว่าไม่ได้เกิดจากไวรัสและสาเหตุอื่น ๆ ให้เรา Backup ข้อมูล ฟอร์แมต แล้วลงระบบปฏิบัติ การและโปรแกรมใหม่ทั้งหมด
10. เวลาบู๊ตเครื่องต้องกด F1 ทุกครั้งสาเหตุ พบความผิดพลาดขณะทำการตรวจสอบระบบเรียกว่า Post (Power On Self Test)
วิธีแก้ เมื่อขณะเปิดเครื่อง Bios จะทำการตรวจสอบระบบเรียกว่า Post (Power On Self Test) ถ้าพบผิดพลาดจะมีข้อความแจ้งให้ผู้ใช้ทราบและหยุดรอผู้ใช้กด F1เพื่อทำงานต่อ ซึ่งข้อผิดพลาดส่วนใหญ่มักเกิดจากการที่เราตั้งค่าใน Bios ว่ามีอุปกรณ์บางอย่างอยู่ในเครื่องซึ่งไม่มีอยู่จริง เมื่อ Bios ว่ามีอุปกรณ์บางอย่างอยู่ในเครื่องซึ่งไม่มีอยู่จริง เมื่อ Bios ค้นหาอุปกรณ์ต่าง ๆ แล้วไม่พบอุปกรณ์ดังกล่าวจึงแจ้งความผิดพลาดให้เราทราบ ซึ่งเราอาจเข้าไปแก้ค่าต่าง ๆ ใน Biosให้ตรงกับความจริง ปัญหาที่ Bios ก็จะหายไปเอง หรือวงจร RTC มีปัญหาให้ส่งซ่อมที่ร้านได้
11. หลังจากที่เปิดเครื่องแล้วมีแต่เสียงปี๊บ ยาวๆ เกิดขึ้นและเครื่องก็ไม่สามารถทำงานต่อไปได้วิธีแก้ ตามปกติเมื่อเปิดเครื่องแล้วคุณจะได้ยินเสียงดังปี๊บสั้นๆ หนึ่งครั้ง ซึ่งเสียงนี้สื่อให้คุณรู้ว่าระบบทุกอย่างอยู่ใน สภาพปกติ ไม่มีอะไรผิดพลาด ขึ้นกับอุปกรณ์ตัวหนึ่งตัวใดในเครื่องแล้ว ซึ่งกรณีนี้ส่วนใหญ่ มักเกิดจากการลืมติดตั้ง การ์ดแสดงผล หน่วยความจำติดตั้งไม่แน่นหรือไม่ถูกต้อง อย่างไรก็ตาม เสียงที่เกิดขึ้นนี้มีหลากหลายรูปแบบคุณจะ ต้องแยกให้ออก ว่าเสียงนั้นดังอย่างไร จากตัวอย่างเช่น สั้นสลับยาวหรือดังยาวๆ เพียงครั้งเดียว นอกจากนี้เมนบอร์ด ที่ใช้ไบออสต่างยี่ห้อกันเสียงที่เกิดขึ้นก็จะบ่งบอกสาเหตุของปัญหาที่แตกต่างกันไปอีกด้วย
อ้างอิงจาก:http://www.ubmthai.com/leksoundsmf3/index.php?topic=33497.0
-มีเสียงร้องหลังจากเปิดเครื่องและไม่มีภาพ
มีสาเหตุดังนี้
1. เสียบ RAM ไม่แน่น
วิธีแก้ไข : ให้ลองเปิดฝาเครื่องแล้วขยับ RAM ให้แน่น
2. เกิดจากหน้าสัมผัสของ RAM ไม่สะอาด
วิธีแก้ไข : เปิดฝาเครื่องออกมาแล้วให้ลองขยับ RAM ให้แน่น ถ้ายังไม่หายให้ลองถอด RAM ออกมาทำความสะอาดหน้าสัมผัส โดยใช้ยางลบดินสอหรือน้ำยา
3. เกิดจากการเสียบ RAM ผิดแถว
วิธีแก้ไข : เมนบอร์ดบางรุ่นต้องเสียบ RAM ไล่จากแถวที่ 1 ขึ้นไป ให้ลองนำ RAM มาเสียบที่ Slot ที่ 1 และไล่ลงไปในกรณีที่มี RAM หลายแถว
4. RAM ที่ใส่ไปไม่ตรงกับชนิดที่เมนบอร์ดรับได้
วิธีแก้ไข : ตรวจสอบกับคู่มือเมนบอร์ดว่าเป็นชนิดที่ถูกต้องและขนาดที่ไม่เกินที่เมนบอร์ดกำหนดในแต่ละแถว ถ้าไม่ถูกให้นำ RAM ชนิดที่ถูกต้องมาใส่
5. เกิดจากความผิดผลาดของกระบวนการเช็คตอนเปิดเครื่อง ( POST) ของไบออส
วิธีแก้ไข:ในบางครั้งจะจดจำการติดตั้งฮาร์ดแวร์ในตำแหน่งต่างไว้และทำการตรวจเช็คทุกครั้งที่เปิดเครื่องดังนั้นเมื่อมีการเปลี่ยนแปลง หรือสลับตำแหน่งของสล็อตที่เสียบอุปกรณ์ต่างๆ เครื่องอาจจะเช็คว่าเกิดความผิดผลาดได้ โดยที่จริง ๆ แล้วไม่ได้มีอุปกรณ์ใด ๆเสียเลยแต่เพราะเครื่องได้จดจำข้อมูลตำแหน่งของสล็อต ที่เสียบ ฮาร์ดแวร์ต่าง ๆ ไว้ แต่ยังไม่ได้ทำการอัพเดทหรือ รีเฟรช (Refresh ) ทำให้เมื่อเปิดเครื่องแล้วถึงขั้นตอนการตรวจสอบ เครื่องจะฟ้องว่าฮาร์ดแวร์ผิดผลาด วิธีแก้คือ ให้ลองสบับแถวของ RAM แล้วลองเปิดเครื่องใหม่ เพื่อให้เครื่องจดจำตำแหน่ง หรือ Reset ไบออส โดยการถอด ถ่านของไบออสบนเมนบอร์ดออกสักครู่หนึง แล้วกลับเข้าไปใหม่ จากนั้นลองเปิดเครื่องใหม่อีกครั้ง
6. RAM เสีย
วิธีแก้ไข : ให้ลองนำ RAM ตัวอื่นที่ใช้ได้มาเสียบแทนในช่องเดียวกัน ถ้าหากใช้ได้แสดงว่า RAM เสีย ถ้า RAM เสียก็ต้องซื้อมา เปลี่ยนสถานเดียว
-เปิดเครื่องแล้ว แต่ Test Memory (RAM) ไม่ผ่านมีสาเหตุดังนี้
1. สล็อตเสียบ RAM เสียหรือเสียมคุณภาพ
วิธีแก้ไข : เป็นไปได้ที่เมื่อใช้ไปแล้ว สล็อตเสียบ RAM เสื่อมคุณภาพ ให้ลองย้าย RAM ไปใส่ในสล็อตอื่นแล้วลองบู๊ตเครื่องใหม่
2. RAM เสียหรือเสียมคุณภาพ
วิธีแก้ไข : ให้ลองนำ RAM ตัวอื่นที่ใช้ได้มาเสียบแทนในช่องเดียวกันถ้าผ่านแสดงว่า RAM เสีย ก็ต้องซื้อมาเปลี่ยนใหม่ใช้แล้ว
-เครื่องแฮงก์ง่ายมีสาเหตุดังนี้
1. อาจเกิดจากการตั้งค่าความถี่ที่ใช้กับ RAM ไม่ถูกต้อง
วิธีแก้ไข : ดูที่สเปค (Spec) ของ RAM สามารถทำงานที่ความถี่เท่าไร และให้ตั้งให้ถูกต้อง โดยเซ็ทที่ BIOS หรือเมนบอร์ด บางรุ่นต้องเซ็ทที่ Jumper บนเมนบอร์ด โดยสามารถดูรายละเอียดจากคู่มือของเมนบอร์ดนั้นๆ ได้
2. อาจเกิดจากการตั้งค่าการหน่วงเวลา (Wait state) ไม่ถูกต้อง
วิธีแก้ไข : กลับไปตั้งค่าให้ถูกต้องเหมือนเดิม หรือตั้งค่าเป็นแบบ by SPD จะสะดวกที่สุด
3. อาจเกิดจากการเลือกคุณสมบัติพิเศษ เช่น Fast page , EDO ไม่ถูกต้อง
วิธีแก้ไข : ควรศกษาคุณสมบัติพิเศษต่าง ๆ ให้เข้าใจอย่างละเอียดก่อนที่จะเลือกใช้คุณสมบัตินั้น ๆ ถ้าไม่แน่ใจให้แก้กลับมาที่ Load Detault Setup หรือ Disable เพราะถ้าเลือกใช้คุณสมบัติพิเศษ โดยที่ RAM ตัวนั้นไม่รองรับ ก็จะทำให้เกิดความผิดพลาดในการทำงานได้
4. อาจเกิดจาก Clip RAM ร้อนเกินไป
วิธีแก้ไข : ในกรณีทีบางครั้ง RAM ทำงานหนักและเกิดอาการร้อนเกินไปจะทำให้เกิดการทำงานผิดพลาดได้ ดังนั้นถ้าต้องการเสถียรภาพ ในการทำงานมากขึ้น เราควรปรับปรุงระบบระบายความร้อนภายในเครื่องคอมพ์ให้ดีขึ้น เช่น เพิ่มพัดลมระบายความร้อนภายในเครื่อง วางคอมพ์ไว้ในที่ที่มี อากาศถ่ายเทได้สะดวกหรือห้องแอร์ก็จะยิ่งดี
5. อาจเกิดจาก RAM เสื่อม
วิธีแก้ไข : RAM บางตัวที่ใช้งานไปนาน ๆ Clip บางตัวบน RAM อาจเสื่อมได้โดยที่เครื่องยังสามารถทำงานได้ตามปกติ แต่เมื่อเครื่อง ได้ใช้งานมาถึงตำแหน่งที่เสื่อมบนแรมตัวนั้น จะทำให้เกิดการทำงานผิดพลาดได้ วิธีแก้คือ ลองถอด RAM ตัวที่คิดว่าเสื่อมออก และนำ RAM ตัวอื่นที่ดีมาใส่แทน และลองใช้งานดู ถ้าทำงานได้ตามปกติแสดงว่า RAM ตัวนั้นเสีย ให้ซื้อตัวใหม่มาเปลี่ยน หรือถ้าอยู่ในระยะประกันให้ลองเปลี่ยนตัวใหม่ แต่อาการแบบนี้ขอบอกว่าพิสูจน์ยากนิดนึง บางครั้งเราต้องรอจังหวะขนาดของ RAM
-เมื่อใช้งานน้อยกว่าขนาดที่แท้จริงมีสาเหตุดังนี้
1. เสียบ RAM ที่มีขนาดเกินกว่าที่ช่องเสียบ RAM นั้นรับได้
วิธีแก้ไข : เมนบอร์ดบางตัวจะกำหนดขนาดของ RAM สูงสุดต่อแถวที่เสียบได้ในแต่ละช่องสล็อต ดังนั้นควรอ่านคู่มือของเมนบอร์ดดูก่อนว่าสล็อตใดเสียบ RAM ที่มีขนาดสูงสุดได้เท่าไร เช่น เมนบอร์ดบางรุ่น ช่องเสียบ RAM แถวที่ 1ใส่ RAM ได้สูงสุดไม่เกินแถวละ128 MB ถ้าเรานำ RAM ขนาด แถวละ 256 MB มาใส่เครื่องจะไม่สามารถรับได้หรือมองเห็นแค่เพียง 128 MB เท่านั้น
2. ขนาดของ RAM รวมทั้งหมดเกินกว่าที่เมนบอร์ดจะรับได้
วิธีแก้ไข : เมนบอร์ดทุกอันจะมีขนาดรวมของ RAM สูงสุดที่เมนบอร์ดรับได้ไม่ใช่ว่าจะสามารถซื้อ RAM มาใส่เท่าไรก็ได้ ควรอ่านคู่มือ ของเมนบอร์ดรุ่นนั้นด้วย
3. RAM บางส่วนถูกนำไปใช้ในด้านอื่น
วิธีแก้ไข : เหตุการณ์นี้จะเกิดขึ้นเมนบอร์ดบางรุ่น ที่มีอุปกรณ์บางประเภท Onboard ซึ่งจะใช้หน่วยความจำร่วมกับ RAM ทำให้เมื่อเปิด ใช้งานเนื้อที่ของ RAM บางส่วนจะถูกจองไว้สำหรับใช้งานของอุปกรณ์ตัวนั้นโดยเฉพาะ จึงทำให้เวลาระบบปฏิบัติการแสดงผลขนาดของ RAM จะเหลือไม่เท่ากับ ขนาดที่แท้จริงของ RAM เช่น เมนบอร์ดบางรุ่นที่มี VGA Card Onboard และแจ้งว่ามี RAM ของ VGA Card ขนาด 16 MB แต่เมื่อใช้งานจะใช้เนื้อที่ของ RAM ที่เสียบลงไปบนเมนบอร์ด ดังนั้น ถ้าเราเสียบ RAM ขนาด 128 MB ลงไปบนเมนาบอร์ดจะเหลือ RAM ที่ใช้งานกับระบบจริงเพียง 128 MB คือ 112 MB
4. อาจเกิดจาก RAM เสื่อม
วิธีแก้ไข : เราสามารถดูตามอาการเสียของแรมที่ได้กล่าวมาข้างต้น
-RAM ที่มีความเร็วสูงแต่ทำงานที่ความเร็วต่ำ
1. เมนบอร์ดไม่สามารถรองรับ RAM ที่มีความเร็วสูงกว่าที่กำหนดได้
วิธีแก้ไข : ไม่สามารถแก้ได้ ถ้าต้องการให้ RAM ทำงานที่ความเร็วสูง ต้องซื้อเมนบอร์ดรุ่นที่รองรับได้ เช่น RAM ที่มีความเร็ว 133 MHz เมื่อนำมา ใส่เมนบอร์ดที่รองรับ RAM ที่มีความเร็วสูงสุดที่ 100 MHz RAM ตัวนั้นจะทำงานได้ที่ความเร็วแค่ 100 MHz
2. ไม่ได้ตั้งค่าที่ BIOS ให้ถูกต้อง
วิธีแก้ไข : ที่ BIOS จะมีเมนูสำหรับตั้งค่าความเร็วของ RAM ที่เราต้องการให้เราไปปรับค่าให้ถูกต้องหรือให้เลือกเป็น Auto
3. ไม่ได้เซ็ทค่าจั๊มเปอร์บนเมนบอร์ด
วิธีแก้ไข : เมนบอร์ดบางรุ่นจะมีการเซ็ทความถี่ของ RAM ที่จั๊มเปอร์บนเมนบอร์ดด้วย ให้ศึกษาด้วย ให้ศึกษาและเซ็ทตามคู่มือเมนบอร์ด
http://www.zabzaa.com/tips/showtips.asp?GID=86
CPU
Intel ตามที่ทราบกันดีอยู่แล้ว แต่ก็สามารถแก้ไขหรือช่วยผ่อนหนักเป็นเบาได้โดยการเลือกใช้ฮีตซิงค์และพัดลมระบายอากาศซีพียูที่มีประสิทธิภาพดีแต่ในปัจจุบันก็ได้มีการพัฒนาซีพียูรุ่นใหม่ๆที่ออกมามีความร้อนที่เกิดขึ้นลดน้อยลงแต่ยังคงไว้ซึ่งความเร็วที่สูงขึ้นด้วย
การแก้ปัญหาอันเนื่องมาจากความร้อนของซีพียู
ข้อแนะนำ ดังนี้
1.ไม่ควรเพิ่มความเร็วสัญญาณนาฬิกาหรือ Overlock โดยไม่จำเป็น
2.เลือกใช้ฮีตซิงค์และพัดลมระบายอากาศซีพียูที่มีประสิทธิภาพ
3.เลือกเคสที่โปร่งและสามารถติดตั้งพัดลมระบายอากาศภายในเคสเพิ่มเติมได้
4.ไม่ควรเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานในห้องที่ร้อน อบอ้าว เป็นเวลานานๆถ้าจะทำงานเป็นเวลานานๆควรเปิดเครื่องปรับอากาศด้วย
5.สังเกตว่าอย่าให้มีอะไรมาบังช่องทางของพัดลมระบายอากาศด้านหลังเครื่อง
ปัญหานี้สามารถพบเห็นได้บ่อยๆ ในปัจจุบัน ที่ความเร็วในการทำงานของซีพียูนั้นสูงขึ้นมาก แต่ก็สามารถแก้ไขหรือช่วยผ่อนหนักเป็นเบาได้
-สาเหตุที่มักทำให้ซีพียูมีความร้อนสูงขึ้นจนทำให้เครื่องเกิดอาการแฮงค์
มีดังนี้.
• การเพิ่มความเร็วสัญญาณนาฬิกาหรือการ Overclock : เป็นที่นิยมอย่างมากในหมู่ของผู้ใช้ที่ค่อนข้างเชี่ยวชาญในการใช้งานคอมพิวเตอร์ เป็นเพราะว่าผู้ใช้เหล่านั้นจะทราบดีว่าความเร็วของซีพียูที่ระบุหรือกำกับมากับตัวซีพียูแต่ละตัวนั้น ไม่ใช่ค่าความเร็วสูงสุดที่แท้จริง แต่เป็นเพียงค่าความเร็วที่เหมาะสมสำหรับทำให้การทำงานของซีพียูนั้นเกิดความเสถียรมากที่สุด ซึ่งผู้ใช้เหล่านี้ก็มักจะมีการดัดแปลงให้ซีพียูเหล่านี้มีความเร็วในการทำงานสูงขึ้นกว่าที่กำกับไว้ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ แต่ผลเสียที่ตามมาก็คืออายุการใช้งานของซีพียูที่สั้นลงและความร้อนที่เกิดขึ้นนั้นจะสูงขึ้นมากกว่าปกติจนเป็นสาเหตุที่ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์นั้นแฮงค์บ่อยๆ
• การเลือกใช้ฮีตซิงค์และพัดลมระบายอากาศซีพียูที่ไม่มีประสิทธิภาพ : นอกจากสาเหตุอันเนื่องมาจาก การ Overclock แล้วนั้น ในการเลือกใช้ฮีตซิงค์และพัดลมระบายอากาศซีพียูที่ไม่มีประสิทธิภาพก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เครื่องเกิดอาการแฮงค์ขึ้นได้ เพราะหน้าที่ของฮีตซิงค์และพัดลมระบายอากาศซีพียูก็คือ นำพาความร้อนจากซีพียูมาเก็บไว้ที่ตัวแล้วใช้พัดลมเป่าเพื่อระบายอากาศ เพราะฉะนั้นถ้าวัสดุที่นำมาใช้ทำฮีตซิงค์ไม่มีคุณสมบัติของการนำพาความร้อนที่ดีพอ และพัดลมระบายอากาศเป่าระบายความร้อนออกไปได้ไม่ทัน รวมทั้งใช้สารเชื่อมความร้อน หรือซิลิโคนที่ไม่มีคุณภาพ ผลที่ตามมาก็คือเครื่องแฮงค์ ในปัจจุบันจะมีฮิตซิงค์และพัดลมระบายอากาศซีพียูให้เลือกซื้ออยู่อย่างมากมาย หลายรุ่น หลายยี่ห้อ ดังนั้นจึงต้องเลือกฮีตซิงค์และพัดลมระบายอากาศซีพียูให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพเพียงพอต่อการใช้งานด้วย
-การแก้ปัญหาอันเนื่องมาจากความร้อนของซีพียู มีดังนี้.
• ไม่ควรเพิ่มความเร็วสัญญาณนาฬิกาหรือ Overclock โดยที่เราไม่จำเป็น
• เลือกใช้ฮีตซิงค์และพัดลมระบายอากาศซีพียูที่มีประสิทธิภาพ
• เลือกเคสที่โปร่งและสามารถติดตั้งพัดลมระบายอากาศภายในเคสเพิ่มเติมได้
• ไม่ควรเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานในห้องที่ร้อน อบอ้าว เป็นเวลานานๆ
• สังเกตว่าอย่าให้มีอะไรมาบังช่องทางของพัดลมระบายอากาศด้านหลังเครื่อง
http://www.csc.kmitl.ac.th/faq/31-general/198-2553-08-04-03.html
Mainboard
อาการเสียของ Mainboard และการ ตรวจสอบเบื้องต้นเมนบอร์ด (Mainboard)
เป็นแผงวงจรหลักในคอมพิวเตอร์มีลักษณะเป็นแผ่นเซอร์กิตPCB(PrintCircuitBoard)ใช้สำหรับติดตั้งอุปกรณ์อิเล็กโทรนิคต่างๆรวมทั้งซีพียู,หน่วยความจำหรือRAMและแคช(Cache)ซึ่งหน่วยความจำความเร็วสูงสำหรับพักข้อมูลระหว่างซีพียูและแรมอุปกรณ์ที่สำคัญอีกชนิดหนึ่งซึ่งอยู่บนเมนบอร์ดได้แก่ชิปเซ็ต (Chipset) ภายในประกอบด้วยทรานซิสเตอร์ขนาดเล็กจำนวนหลายล้านตัวผลิตด้วยเทคโนโลยีการทำงานระหว่างอุปกรณ์ชนิดต่าง ๆ เป็นส่วนสำคัญที่ทำให ้เมนบอร์ดแต่ละยีห้อและแต่ละรุ่นมีคุณสมบัติต่างกันนอกจากนี้บนเมนบอร์ดยังมีช่องสำหรับเสียบการ์ดเพิ่มเติมที่เรียกว่า สล็อต(Slot)ซึ่งการ์ดจอ, การ์ดเสียง ฯลฯ ต่างก็เสียบอยู่บนสล็อต นอกจากนี้เมนบอร์ดในปัจจุบันยังได้รวมเอาส่วนควบคุมการ ทำงานต่าง ๆ ไว้บนตัวเมนบอร์ดอีกด้วย ได้แก่ ส่วนควบคุมฮาร์ดดิสก์ (Harddisk Controller),พอร์ตอนุกรม (Serial Port)พอร์ต ขนานหรือพอร์ตเครื่องพิมพ์ (Printer Port), พอร์ต PS/2,USB(Universal Serial Bus) รวมทั้ง Keyboard Controllerสำหรับอุปกรณ์ อื่นที่มีมาตั้งแต่เริ่มกำเนิดเมนบอร์ดได้แก่ ROM BIOS และ Real-Time Clock เป็นต้น ส่วนอาการเสียที่มักจะเกิดบ่อยที่ผู้ใช้ควรรับรู้และสามารถแก้ไขได้ตัวอย่างเช่น
1.รู้ได้อย่างไรว่าเมนบอร์ดที่ใช้อยู่ รองรับอุปกรณ์ Onboard อะไรบ้าง หากอยากรู้ว่าคอมพิวเตอร์หรือเมนบอร์ดที่ใช้อยู่มีอุปกรณ์ Onboard อะไรแถมมาด้วยก็ไม่ยาก โดยให้ดูที่ด้านท้ายเคสซึ่งจะมีพอร์ตสำหรับต่อเมาส์ และคีย์บอร์ด ถ้าหากเมนบอร์ดมีอุปกรณ ์ Onboard อื่นให้มาด้วยก็จะมีพอร์ตสำหรับอุปกรณ์นั้นเช่น พอร์ต Modem, Lan, VGA, Sound คือถ้าพบมีพอร์ตดังกล่าวอยู่ท้ายเคสก็ให้เสียบใช้งานได้ทันที
2. การ์ดจอ Onboard เสียจะทำอย่างไร ปัญหานี้จะแสดงอาการออกมาในลักษณะเปิดเครื่องได้เห็นไฟเข้าเครื่องทำงานปรกติต่หน้าจอจะไม่มีภาพอะไรเลยผู้ใช้หลายคนนึกว่าเมนบอร์ดเสียจึงไปหาซื้อเมนบอร์ดมาเปลี่ยนใหม่ทำให้สูญเสียเงินไปโดยใช่เหตุสาเหตุ เป็นเพราะระบบแสดงผลของชิปเซ็ตบนเมนบอร์ดเสีย ทำให้ไม่มีภาพปรากฏบนหน้าจอวิธีแก้ ให้ทำการจัมเปอร์บนเมนบอร์ดเป็น Disable หรือกำหนดค่าในไบออสให้เป็น Disable ขึ้นอยู่กับรุ่นของเมนบอร์ด แล้วนำการ์ดจอมาติดตั้งลงในสล็อต AGP แทน หากเป็นรุ่นที่ไม่มีสล็อต AGP ก็คงต้องหาซื้อการ์ด PCI มาติดตั้งแทน หรือส่งซ่อมที่ร้าน p.c.point ได้
3. เมนบอร์ดมีการ์ดเสียง Onboard ไม่ทำงาน
ปัญหานี้มีลักษณะคล้ายกับปัญหาการ์ดจอ Onboard แต่ส่วนใหญ่การ์ดเสียง Onboardที่มีปัญหาใช้งานไม่ได้
สาเหตุ
1. ยังไม่ได้กำหนดให้ใช้งานวงจรเสียงได้จากไบออส
2. ยังไม่ติดตั้งไดรเวอร์สำหรับวงจรเสียงดังกล่าว
3. อาจเป็นส่วนของวงจรเสียงในชิปเซ็ตเสีย
วิธีแก้
1. กำหนดค่าในไบออสโดยเลือกหัวข้อ Integrated Peripherals
2. เลือกหัวข้อ Onboard Hardware Audio และกำหนดค่าเป็น Enabled
3. Save ค่าไว้และออกจากไบออสบู๊ตเครื่องใหม่
4. ใช้แผ่นไดรเวอร์เมนบอร์ดติดตั้งไดรเวอร์เสียงลงใน Windows. หากติดตั้งแล้วใช้การไม่ได้แสดงว่าส่วนวงจรเสียงเสีย ให้ Disabled ยกเลิกการใช้งานในไบออส แล้วหาซื้อการ์ดเสียงมาติดตั้งใหม่
4. จะติดตั้งพอร์ต USB ของตัวเครื่องเข้ากับเมนบอร์ดได้อย่างไร ุ เมนบอร์ดทั้วไปมักจะมีพอร์ต USB ติดตั้งมาให้จำนวน 2 พอร์ต โดยจะมีขั้วพอร์ต USB ให้อีก 1 ช่องสำหรับต่อพอร์ต USB ได้อีก 2 พอร์ตซึ่งพอร์ตต่อเพิ่มพอร์ต USB มักเป็น Options เสริมที่ต้องซื้อเพิ่มเอาเองแต่ในตัวเคสรุ่นใหม่ที่ด้านหน้าหรือด้านข้างมักจะมีพอร์ตเสริม USB มาให้อีก 2 พอร์ตวิธีแก้ การติดตั้งพอร์ตเสริม USB ของตัวเคสจำนวน 2 พอร์ต เพื่อให้ใช้งานได้จะต้องนำสาย สัญญาณและสายจ่ายไฟจำนวน 8 เส้นมาเสียบต่อเข้ากับช่องต่อพอร์ตUSB บนเมนบอร์ด โดยจะต้องดูคู่มือเมนบอร์ดประกอบด้ยอย่าเสียบผิดสายเพระสาย USB จะมีไฟเลี้ยงอยู่ด้วย จะทำให้อุปกรณ์ต่อพ่วงเสียหายได้ สำหรับขั้นตอนการติดตั้งพอร์ต USB ตัวเครื่องเข้ากับเมนบอร์ดดังนี้
1. เปิดฝาเครื่องออกมาและหาตำแหน่งขั้วต่อพอร์ต USB บนเมนบอร์ด โดยที่ขา 1 จะมีเส้นทึบ สีขาวขีดคร่อมอยู่
2.นำสายสัญญาณและสายจ่ายไฟพอร์ต USB จากเมนบอร์ดมาเรียงไว้ โดยสายจะมี 2 ชุด ๆ ละ 4 เส้น
3. นำสายทั้ง 2 ชุดเสียบเข้ากับขั้วต่อพอร์ต USB บนเมนบอร์ดโดยดูจากคู่มือเมนบอร์ดประกอบ กันด้วยอย่าสลับสายกันเป็นอันขาด
5. ใช้งานพอร์ต USB 2.0 ผ่านเครื่องพิมพ์ ไม่เห็นความเร็วเพิ่มขึ้น
สาเหตุ พอร์ต USB 2.0 เป็นพอร์ตมาตรฐานเพิ่งออกมาใหม่ รองรับความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลได้สูงถึง 480 Mbps หรือเร็วกว่าพอร์ต USB 1.1 ถึง 40 เท่าแต่ใช่ว่าเมื่อเมนบอร์ดรองรับพอร์ต USB 2.0 แล้วจะสามารถ ใช้งานได้เลย ต้องทำการติดตั้งไดรเวอร์ของ USB 2.0 ให้ถูกต้องเสียก่อน วิธีแก้ สำหรับวิธีการตรวจดูว่าคอมพิวเตอร์ของเรา ได้ติดตั้งและใช้ความสามารถของพอร์ต USB 2.0 แล้วหรือยังมีดังนี้
1. ใน Windows XP ให้คลิกปุ่ม Start>Control Panel>Switch to classic view
2. ดับเบิ้ลคลิกที่ไอคอน system
3. คลิกแท็ป Hardware
4. คลิกปุ่ม Device Manager
5. คลิกเครื่องหมาย + หน้า Universal Serial Bus controllers จะพบว่ามีแต่ไดรเวอร์ของ USB 1.1 ติดตั้งไว้เท่านั้น สำหรับ USB 2.0 ยังไม่ได้ติดตั้ง (มีเครื่องหมายตกใจสีเหลืองหน้าตัว Universal Serial Bus (USB) Controller
6. ให้ติดตั้งไดรเวอร์ USB 2.0 โดยการคลิกเมาส์ขวาที่ตัว Universal Serial Bus (USB) Controller และเลือกUpdate Driver…
7. เมื่อปรากฏหน้าจอให้ Update Driver ให้ใส่แผ่นซีดีรอมไดรเวอร์ของเมนบอร์ดเข้าเครื่องและคลิกเลือกหัวข้อ Install the software automatically และดำเนินการตามขั้นตอนที่ปรากฏหน้าจอต่อไป
8. ในขั้นตอนที่ 6 หากต้องการติดตั้งไดรเวอร์ USB จากแผ่นไดรเวอร์เมนบอร์ดโดยตรงก็สามารถทำได้โดยใส่แผ่นไดรเวอร์เข้าไปในเครื่องเพื่อให้รันโดยอัตโนมัติ ซึ่งจะปรากฏหน้าจอให้เลือกข้อ VIA USB 2.0 Driverและดำเนินการไปตามข้นตอนที่ปรากฏบนหน้าจอไปจนเสร็จสิ้น หลังจากนั้นจะบู๊ตเครื่องขึ้นมาใหม่
9. ให้เข้าไปตรวจสอบสถานะของไดรเวอร์ USB 2.0 ว่าได้รับการติดตั้งแล้วหรือไม่โดยเข้าไปที่ Control Panel ซึ่งจะพบว่ามีไดรเวอร์ของ USB 2.0 ได้รับการติดตั้งแล้วคือ USB 2.0 Root Hub และ VIA USB 2.0 Enchanced Host Controller เพียงเท่านี้เมื่อมีการใช้งานพอร์ต USB 2.0 เช่น สั่งพิมพ์งานเอกสารด้วยเครื่องพิมพ์งานเอกสารด้วยเครื่องพิมพ์ผ่านพอร์ต USB 2.0 งานพิมพ์แทบจะวิ่งออกมาทีเดียว
6. เปิดสวิทซ์แล้วเครื่องไม่ทำงานใด ๆ เลยไฟก็ไม่ติด ไม่มีเสียงร้อง
-สาเหตุที่1ปลั๊กPower Supply หลวม
วิธีแก้ ให้ลองขยับปลั๊ก Power Supply ทั้งทางด้านหลังเครื่องคอมพิวเตอร์และที่เต้าเสียบให้แน่น
- สาเหตุที่ 2 อาจเป็นที่ Power Supply เสีย
วิธีแก้ ให้ลองตรวจเช็คว่ามีไฟฟ้าออกจาก Power Supply ถูกต้องหรือไม่วิธีสังเกต ถ้าเป็นสายไฟสีแดงจะมีค่า +5 Volt ถ้าเป็นสายสีเหลืองจะมีค่า +12 Volt หรืออาจสังเกตง่าย ๆ ขั้นต้นว่าเมื่อเปิดสวิทซ์นั้นพัดลมที่ติดอยู่กับ Power Supply หมุนหรือไม่ และเป็นไปได้ที่บางครั้ง Power Supply อาจจะเสียแต่พัดลมยังหมุนอยู่ เราอาจจะลองนำ Power Supply ตัวอื่นที่ไม่เสียมาลองเปลี่ยนดูก็ได้ ถ้าเสียก็ซื้ออันใหม่มาเปลี่ยน เอาแบบวัตต์สูง ๆ ก็จะดี - สาเหตุที่ 3 เป็นที่เมนบอร์ดเสีย วิธีแก้ ถ้า Power Supply ไม่เสียมีไฟเลี้ยงเข้าเมนบอร์ดตามปกติ ให้ลองเช็คโดยการถอดการ์ดต่าง ๆ และ RAM ออกหมด ถ้าเปิดเครื่องแล้วไม่มีเสียงร้องแสดงว่าเมนบอร์ดหรือ CPU เสีย แต่ถ้ามีเสียงร้องแสดงว่าอุปกรณ์บางตัวที่ถอดออกไปเสีย และถ้าหากเมนบอร์ดเสียให้ส่งที่ร้านซ่อมหรือซื้อเมนบอร์ดใหม่ - สาเหตุที่ 4 CPU หลวม วิธีแก้ ส่วนใหญ่เหตุการณ์นี้มักเกิดขึ้นกับซีพียูประเภทซ็อคเก็ตสล็อตวัน (Slot 1) และซ็อคเก็ตสล็อตทู (Slot 2) เช่น เพนเทียมทู เป็นต้น ให้เราปิดฝาเครื่องและลองขยับซีพียูที่ดูเหมือนแน่นอยู่แล้วให้แน่นขึ้นไปอีก - สาเหตุที่ 5 CPU เสีย วิธีแก้ ลองหา CPU ตัวใหม่มาลองเปลี่ยนแทน ถ้าใช้ได้ละก็แสดงว่าตัวเก่าเสียแน่นอน - สาเหตุที่ 6 เป็นที่อุปกรณ์บางตัวเสียทำให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจร วิธีแก้ ให้ลองใส่ตรวจเช็คทีละตัว
7. เปิดเครื่องแล้วมีเสียงร้องแต่ไม่ยอมทำงานใด
- สาเหตุที่ 1 อุปกรณ์บางตัวที่ต่อกับเมนบอร์ดหลวมวิธีแก้ ถ้าอุปกรณ์บางตัวที่ต่อกับเมนบอร์ดหลวม จะทำให้กระบวนการเช็คค่าเริ่มต้น (POST) ของ BIOS ฟ้องค่าผิดพลาด ให้เราเปรียบเทียบค่าสัญญาณ Beep Code จากคู่มือเมนบอร์ด
- สาเหตุที่ 2 อุปกรณ์บางตัวที่อยู่บนเมนบอร์ดต่อไม่ถูกต้องวิธีแก้ ส่วนใหญ่มักเกิดกับ RAM ปกติเมื่อเราเปิดเครื่องแล้วมีปัญหาไม่สามารถแสดงภาพออกทาง หน้าจอในตอนเริ่มต้นได้ Bios จะพยายามแจ้งอาการเสียผ่านทางเสียงร้องออกทางลำโพงที่อยูภาย ในเครื่องคอมพ์ ให้เราเปรียบเทียบค่าสัญญาณ Beep Code จากคู่มือเมนบอร์ด
- สาเหตุที่ 3 อุปกรณ์บางตัวที่ต่อกับเมนบอร์ดเสียวิธีแก้ ให้เราลองเปรียบเทียบค่าสัญญาณ Beep Code จากคู่มือเมนบอร์ดดู
- สาเหตุที่ 4 Chip บนเมนบอร์ดบางตัวเสียวิธีแก้ ให้ลองไปดูเครื่อง Beep Code และถ้าสาเหตุมาจาก Chip บนเมนบอร์ดให้ไปส่งร้านซ่อมเพื่อเปลี่ยน Chip
8. เครื่องทำงานพื้นฐานตามปกติได้แต่ไม่สามารถใช้อุปกรณ์บางตัวได้ โดยที่อุปกรณ์ตัวนั้นไม่ได้เสี
-สาเหตุที่ 1 Chip บางตัวบนเมนบอร์ดเสีย
วิธีแก้ ให้ลองไปดูเรื่อง Beep code และถ้าสาเหตุมาจาก Chip บนเมนบอร์ดให้ไปส่งร้านซ่อมเพื่อเปลี่ยน Chip
- สาเหตุที่ 2 สล็อตหรือพอร์ตบางพอร์ตบนเมนบอร์ดเสีย
วิธีแก้ ลองเปลี่ยนการ์ดตัวนั้นไปเสียบสล็อตอื่นที่เหลือแทน แล้วลองทดสอบตามปกติ ถ้าเหมือนเดิมส่งร้านซ่อมหรือซื้อเมนบอร์ดใหม่
- สาเหตุที่ 3 เกิดการ Conflict กับอุปกรณ์ตัวอื่น
วิธีแก้ เข้าไปที่ Device Manager ให้สังเกตว่ามีเครื่องหมายอัศเจรีย์ (!) แสดงว่าที่อุปกรณ์ตัวนั้นมีปัญหา ได้ดับเบิ้ลคลิกที่อุปกรณ์ตัวนั้น เพื่อเข้าสู่ Properties จากนั้นลองแก้ไขค่า Resources ต่าง ๆ เพื่อไม่ให้ซ้ำกับอุปกรณ์ตัวอื่น
- สาเหตุที่ 4 ไม่ได้ลงไดรเวอร์
วิธีแก้ ให้ทำการติดตั้งไดรเวอร์ลงไป โดยไดรเวอร์มักจะแถมมากับอุปกรณ์ตัวนั้น ๆ หรือถ้าหาไม่ได้ให้ลองดาวน์โหลดไดรเวอร ์จากเว็บไซต์ผู้ผลิตดู
- สาเหตุที่ 5 ลงไดรเวอร์ผิดรุ่นวิธีแก้ ในบางครั้งที่ระบบปฏิบัติการจะตรวจสอบชนิดและรุ่นของอุปกรณ์ตัวนั้น ๆ โดยอัตโนมัติ ซึ่งมีความเป็นไปได ้ที่ผลของการตรวจสอบจะคลาดเคลื่อน ทางที่ดีควรตรวจเช็คให้แน่ว่ารุ่นของอุปกรณ์ตรงกับไดรเวอร์ที่ลงหรือไม่ ถ้าไม่แน่ใจให้ลงไดรเวอร ์จากแผ่นโปรแกรมที่มาพร้อมกับเครื่อง
9. คอมพิวเตอร์แฮงก์บ่อย ๆ โดยหาสาเหตุไม่ได้
- สาเหตุที่ 1 อาจเกิดจากไวรัสคอมพิวเตอร์
วิธีแก้ ลองใช้โปรแกรม Antivirus เวอร์ชั่นอัพเดทตรวจสอบฮาร์ดดิสก์ทั้งหมด
- สาเหตุที่ 2 คุณภาพเมนบอร์ดไม่ถึงมาตรฐาน
วิธีแก้ อาจเป็นเพราะคุณภาพของเมนบอร์ดไม่ถึงมาตรฐานของโรงงาน ซึ่งโดยมากมักเกิดกับเมนบอร์ดที่เพิ่งซื้อมาใหม่ ให้เอาไปเปลี่ยน
- สาเหตุที่ 3 ไฟล์ระบบปฏิบัติการชำรุด
วิธีแก้ ถ้ามั่นใจแล้วว่าไม่ได้เกิดจากไวรัสและสาเหตุอื่น ๆ ให้เรา Backup ข้อมูล ฟอร์แมต แล้วลงระบบปฏิบัติ การและโปรแกรมใหม่ทั้งหมด
10. เวลาบู๊ตเครื่องต้องกด F1 ทุกครั้งสาเหตุ พบความผิดพลาดขณะทำการตรวจสอบระบบเรียกว่า Post (Power On Self Test)
วิธีแก้ เมื่อขณะเปิดเครื่อง Bios จะทำการตรวจสอบระบบเรียกว่า Post (Power On Self Test) ถ้าพบผิดพลาดจะมีข้อความแจ้งให้ผู้ใช้ทราบและหยุดรอผู้ใช้กด F1เพื่อทำงานต่อ ซึ่งข้อผิดพลาดส่วนใหญ่มักเกิดจากการที่เราตั้งค่าใน Bios ว่ามีอุปกรณ์บางอย่างอยู่ในเครื่องซึ่งไม่มีอยู่จริง เมื่อ Bios ว่ามีอุปกรณ์บางอย่างอยู่ในเครื่องซึ่งไม่มีอยู่จริง เมื่อ Bios ค้นหาอุปกรณ์ต่าง ๆ แล้วไม่พบอุปกรณ์ดังกล่าวจึงแจ้งความผิดพลาดให้เราทราบ ซึ่งเราอาจเข้าไปแก้ค่าต่าง ๆ ใน Biosให้ตรงกับความจริง ปัญหาที่ Bios ก็จะหายไปเอง หรือวงจร RTC มีปัญหาให้ส่งซ่อมที่ร้านได้
11. หลังจากที่เปิดเครื่องแล้วมีแต่เสียงปี๊บ ยาวๆ เกิดขึ้นและเครื่องก็ไม่สามารถทำงานต่อไปได้วิธีแก้ ตามปกติเมื่อเปิดเครื่องแล้วคุณจะได้ยินเสียงดังปี๊บสั้นๆ หนึ่งครั้ง ซึ่งเสียงนี้สื่อให้คุณรู้ว่าระบบทุกอย่างอยู่ใน สภาพปกติ ไม่มีอะไรผิดพลาด ขึ้นกับอุปกรณ์ตัวหนึ่งตัวใดในเครื่องแล้ว ซึ่งกรณีนี้ส่วนใหญ่ มักเกิดจากการลืมติดตั้ง การ์ดแสดงผล หน่วยความจำติดตั้งไม่แน่นหรือไม่ถูกต้อง อย่างไรก็ตาม เสียงที่เกิดขึ้นนี้มีหลากหลายรูปแบบคุณจะ ต้องแยกให้ออก ว่าเสียงนั้นดังอย่างไร จากตัวอย่างเช่น สั้นสลับยาวหรือดังยาวๆ เพียงครั้งเดียว นอกจากนี้เมนบอร์ด ที่ใช้ไบออสต่างยี่ห้อกันเสียงที่เกิดขึ้นก็จะบ่งบอกสาเหตุของปัญหาที่แตกต่างกันไปอีกด้วย
อ้างอิงจาก:http://www.ubmthai.com/leksoundsmf3/index.php?topic=33497.0